วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์


สวัสดีค่าาา เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์กันนะคะ ทุกคนอาจจะงงกันนะคะว่าคอมพิวเตอร์นั้นมีภาษาด้วยหรอ??? วันนี้เราจึงจะมาบอกให้ทุกคนได้รู้ถึงภาษาคอมพิวเตอร์กันค่ะ

มนุษย์เรานั้นใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่างๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ต่างเรียกกันว่า “ภาษาธรรมชาติ” เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น "ภาษาประดิษฐ์” ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้นๆ 


ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.ภาษาเครื่อง (Machine Language)
          การเขียนโปรแกรม เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรกๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วนๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้นั้น ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่างๆได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่างๆที่ใช้ในการคำนวณนั้น ถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก เมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด


ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่อง
ภาษาเครื่อง
LD       A,(8000)
LD     A,B
LD      A,(8100)
ADD   A,B
LD     (8200),A
00111010,00000000,10000000
01000111
00111010,00000001,10000000
10000000
00110010,00000010,10000000

2.ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
          เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่างๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้นๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก บางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  ภาษาอิงเครื่องตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก , SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน

ภาษาระดับต่ำ
ภาษาเครื่อง
รหัสเลขฐานสิบหก
MOV AL,05
MOV BL,08
ADD AL,BL
MOV CL,AL
10110000 00000101
10110011 00001000
00000000 11011000
10001000 11000001
B0 05
B3 08
00 D8
 
88 C1

3.ภาษาระดับสูง (High Level Language)
          ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือ ลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่างๆในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น
 ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
1)    ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
     จัดเป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และงานวิจัยต่างๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมนั้น ไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า 
“FORTRAN 66” และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า “FORTRAN 77” ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
2)     ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
     เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)    ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
     เป็นภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508 ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น 
ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์
     นอกจากนี้ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่างๆได้ทุกสาขาวิชา ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ๆหรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัยจะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
4)    ภาษาปาสคาล (Pascal)
     ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
5)    ภาษาซี และ ซีพลัสพลัส (C และ C++)
     ภาษาซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูง และภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น 
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
      นอกจากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส
6)    ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
     เป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)    การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
     ภาษานี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น 
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
8)    ภาษาจาวา (Java)
     พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
     นอกจากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือแม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งานระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า แอปเพล็ต ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้ 
9)    ภาษาเดลฟาย (Delphi)
     เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม

                เป็นไงบ้างงง ทุกคนคงได้ความรู้เรื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์กันไปเยอะแล้วเนอะ ^_^ ใครที่อยากรู้อะไรเพิ่มเติม ก็ต้องลองหาข้อมูลกันต่อดูเนอะ แต่เราว่าข้อมูลที่เราหามาให้เนี่ย ได้ครบแล้วนะ ถูกมั้ยยย ^_^

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับสังคมไทย


สวัสดีค่าาา อย่างที่ทุกคนทราบนะคะว่า Social Network นั้นมีอิทธิพลต่อพวกเราและสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุนั้นก็หันมาให้ความสนใจกับ Social Network กันอย่างมาก วันนี้กิ๊ฟจึงขอนำข้อมูลต่างๆมาให้ทุกคนได้ทราบกันว่า Social Network นั้นมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างไรกันบ้าง

ในปัจจุบันสื่อประเภทใหม่ที่เข้ามามีอิทธิพลกับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีชื่อว่า Social network ทุกคนคงสงสัยว่า Social network คืออะไร แล้วเข้ามีอิทธิพลได้อย่างไร อย่างที่ปรากฏในข่าวต่างๆ  ในประเทศไทยนั้นอาจจะพึ่งเกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้นมานานแล้ว  แต่สังคมไทยไม่เคยที่จะเรียนรู้จากปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตเลย แล้ววิธีการแก้ไขและป้องกันอิทธิพลของ Social network  คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยกว่าสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้

เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เนตที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายมาก และการใช้งานอีเมล์ในการรับส่งข้อมูลกันอย่างแพร่หลายเพิ่มมากยิ่งขึ้น  ทำให้เกิดการสร้างกลุ่มของคนที่สนใจในเรื่องๆเดียวกัน  ได้เริ่มมีการสร้างเวปไซต์ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มขึ้นมา


ประเภทของ Social Network

          1. Identity Network เผยแพร่ตัวตน  เช่น  Myspace.com, Hi5, Facebook เป็นต้น ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน  และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ท รวมถึงการสร้างกลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มๆบนเครือข่าย
          2. Creative Network เผยแพร่ผลงาน  เช่น  YouTube  ซึ่งสามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง
          3. Interested Network ความสนใจตรงกัน  เช่น  del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking  โดยเป็นการบุ๊คมาร์คเว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ต  สามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้ และยังสามารถบอกความนิยมของเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้
          4. Collaboration Network ร่วมกันทำงาน  คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือส่วนต่างๆของซอฟต์แวร์  เช่น  Google

          5. Gaming/Virtual Reality โลกเหมือน  เช่น  Second.life


การศึกษา

          เรื่องต่อมาที่เราอยากจะนำเสนอ คือเรื่องการใช้ประโยชน์จาก Social Network กับระบบการศึกษาไทย  มีความจริงอยู่เรื่องนึงที่เป็นปัญหากับระบอบการศึกษาไทยมาเป็นเวลาช้านาน (เป็น Thailand Only อย่างนึง) แล้วก็คือเด็กไทยไม่กล้าถาม ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น (แต่กล้าทวีต) ถ้าเป็นอย่างนั้นส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีการทดลองนำเอา Twitter มาประยุกต์กับระบบการศึกษาของไทยคงจะดีไม่น้อย หรือการใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กไทย  ยกตัวอย่างเช่น  มีคนนึงพยายามสร้างสังคมออนไลน์ขึ้นมา  เพื่อส่งเสริมระบบการศึกษาไทย  ส่งเสริมให้เด็กไทยเขียนบทความกันมากขึ้น  หรือมีการรวมกลุ่ม  เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านทาง Social Network  ซึ่งเป็นไอเดียที่เจ๋งแจ๋ว และเป็นที่น่ายินดีของประเทศไทยที่มีเด็กที่มีความสามารถและเสียสละเพื่อพัฒนาระบบการศึกษา หรือแม้แต่สังคมไทยต่อไป ขอปรบมือดังๆ

10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยม

 
Google Chrome

Facebook

Twitter

Line

Instagram

Skype

Google+

Facebook messenger

Wechat

Tango
gfgfgfg
ประโยชน์ของ Social Network

          บริษัทต่างๆเริ่มหันมาใช้ Blog ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริหารมากขึ้น เนื่องจากจัดการใช้งาน และอัพเดทให้ทันสมัยได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดี เพราะ Blog ส่วนใหญ่จะสำรวจและแยกประเภทความสนใจของสมาชิกอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูก และสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าผ่านข้อความแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย

ข้อดี-ข้อเสียของ Social Network

             ในโลกไซเบอร์ก็เหมือนสังคมรอบข้างตัวเรา มีใส่หน้ากาก กัดกันข้างหลัง มีนิสัยดี นิสัยชั่ว มีการสงสัย การระวังคนรอบข้าง มีหมดทุกอย่าง เพราะมันเป็นธรรมดาของโลก แต่เราจะสามารถคัดกรองกลุ่มคนยังไงได้นั้น ก็ต้องใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ หรือพิจารณา คนที่เราคิดว่าน่าจะเป็นคนดี สักวันหนึ่งอาจจะกลับกลายเป็นคนชั่วไปก็เป็นได้ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เป็นแน่นอน เพียงแต่เราจะมองโลกในแง่บวก หรือแง่ลบ เท่านั้นเอง เช่นเดียวกับเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอก็เฉกเช่นเดียวกับคนที่มีทั้งคนดีและคนชั่ว และใน Social Network ก็เช่นเดียวกัน ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีของ Social Network

          1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
          2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆเพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
          3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกแบะรวดเร็ว
          4. เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดีโอต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
          5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ บริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่าง ๆ 
          6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ ๆ

ข้อเสียของ Social Network

          1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล
          2. เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออาจนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่มีข่าวในสื่อหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ
          3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพ ต่าง ๆ ได้
          4. ข้อมูลที่ต้องการกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Fujifilm X-A2


สวัสดีค่าาาา วันนี้เราจะไปรู้จักกับกล้อง Fujifilm X-A2 กันนะคะ จริงๆก็ไม่มีอะไรมากหรอกค่ะ แต่ตอนนี้เรากำลังสนใจกล้องตัวนี้มาก และเราอยากได้สุดๆเลยล่ะ เราเลยลองหาข้อมูลมา และเราคิดว่าอาจจะมีคนชอบกล้องตัวนี้เหมือนกัน เราเลยหาข้อมูลมาเผื่อคนที่สนใจอะไรที่เหมือนกัน ^_^ เราไปดูกันเลยดีกว่าเนอะ ไปดูกันเลยยยยยย

          Fujifilm เปิดตัวกล้อง mirrorless รุ่นใหม่ “Fujifilm X-A2″ ที่พัฒนาต่อจาก Fujifilm X-A1 ที่ได้รับความนิยม โดย Fujifilm X-A2 นั้นจะมาพร้อมกับ หน้าจอขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 920,000 pixel ที่สามารถปรับองศาการมองได้ถึง 175 องศา ซึ่งดูจะถูกใจสำหรับชาว selfie พอสมควร นอกจากนี้ Fujifilm X-A2 ยังใช้ Sensor CMOS Bayer-pattern ขนาด APS-C ความละเอียด 16 megapixel นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ wifi แบบ BuiltIn และ film simulation แบบ “Classic Chrome” อีกด้วย (มีเพียง 3 สีเท่านั้น คือ สีขาว สีดำ และสีส้ม)





Fujifilm X-A2 Specification

-         เซนเซอร์ APS-C CMOS ความละเอียด 16.3 ล้านพิกเซล
-         ชิพประมวลผล EXR II
-         ISO100-25600
-         เซนเซอร์โฟกัสแบบ Contrast Detect 49 จุด
-         ถ่ายภาพต่อเนื่อง 5.6 ภาพต่อวินาที
-         ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/4000 วินาที
-         จอแสดงผลแบบพับได้(Tilting)พับขึ้นได้ 175 องศาสำหรับถ่ายตัวเอง
-         ขนาดหน้าจอ 3.0" ความละเอียด 920,000 พิกเซล
-         ถ่ายวิดีโอ Full HD 1080/30p
-         Classic Chrome film simulation mode
-         มี Wi-Fi ในตัว
-         ใช้แบตเตอรี NP-W126
-         น้ำหนัก 350 กรัม


เป็นไงกันบ้างงง กล้องตัวนี้น่าสนใจมากๆเลยเนอะ ถ่ายภาพก็เลิศ ถ่ายก็วิวก็สวย ถ่ายอะไรก็ดูดีไปหมดเลยอ่ะ เราว่านะใครที่กำลังอยากซื้อกล้องอ่ะ เราว่าตัวนี้น่าสนใจมากๆเลยนะ ลองไปคิดๆดูเนอะว่าซื้อกล้อง Fujifilm X-A2 ดีรึเปล่าวววว ^_^

ที่มา Fujifilm X-A2