วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Snapchat


วันนี้เราจะมารู้จักกับ SnapChat กันค่ะ เท่านั้นยังไม่พอนะคะ เราจะมาสอนวิธีเล่น App นี้กันด้วย 
ไปดูกันเลยยย 

อันดับแรกเราจะมารู้กันก่อนนะคะ ว่า SnapChat คืออะไร?

          SnapChat นั้นเป็นแอฟสุดฮิตของอเมริกา เปิดตัวอย่างเงียบๆ ในไทยในช่วงปลายปี 2554 SnapChat สามารถถ่ายรูปและกำหนดระยะเวลาให้รูปโชว์ได้ในระหว่าง 1 ถึง 10 วินาที ก่อนที่รูปนั้นจะทำลายตัวเองไป ยกเว้นว่าเราจะถ่ายรูปหน้าจอหรือ Screenshot ไว้ จึงจะได้รูปเก็บไว้ในแฟ้มภาพ แต่กรณีนี้เจ้าของภาพจะได้รับการแจ้งว่าใครถ่ายรูปหน้าจอเก็บไว้บ้างแล้ว         

อย่าเสียเวลาเลยดีกว่าเนอะ ต่อไปเราไปดูวิธีเล่น SnapChat กันเลยดีกว่า


เมื่อเปิดมาจะขึ้นแบบนี้ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นหน้านี้ทันที


นี่คือกล้องหลัง และเมื่อแตะ 2 ครั้งที่หน้าจอ หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นกล้องหน้าแบบนี้ทันที


ไปดูพวกสัญลักษณ์กันต่อเลย


สัญลักษณ์ด้านบนอันตรงกลางนั้น เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


ซึ่งแต่ละส่วนก็ไม่เหมือนกัน เช่น สัญลักษณ์นี้


ส่วนนี้คือชื่อของเราและจำนวนครั้งของภาพที่เราส่งไป


 ส่วนนี้เมื่อกดเข้าไป จะเป็นแบบนี้


ถ้ามีเพื่อนแอด SnapChat มา SnapChat ของเพื่อนก็จะมีขึ้นมาที่หน้านี้เลยยย


ส่วนนี้เอาไว้แอดเพื่อน เมื่อกดเข้าไป จะเป็นแบบนี้


เราจะแอดทางไหนก็กดเลือกอันนั้นไปได้เลย


ส่วนนี้คือเพื่อนที่เรามีทั้งหมด เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


และแบบนี้


ถ้าหาเพื่อนไม่เจอก็กดค้นหาได้เลย ที่มุมขวาบนในส่วน Friends


สัญลักษณ์นี้คือวิธีการเล่น SnapChat เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดเลย555 ถ้าเข้าใจก็สบาย ไม่เข้าใจก็ต้องลองกดมั่วๆดูแหละเนอะ


ส่วนนี้คือการตั้งค่าต่างๆ เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้



อยากจะแก้ไขอะไรก็เลือกอันนั้นได้เลย


สัญลักษณ์นี้คือที่เปลี่ยนจากกล้องหน้าเป็นกล้องหลัง กล้องหลังไปกล้องหน้า


ส่วนนี้ก็รู้ๆกันอยู่แล้วเนอะว่าเป็นที่กดเพื่อถ่ายรูป ถ้าถ่ายภาพเดี่ยวก็กดถ่ายตามปกติ 
แต่ถ้าจะถ่ายวิดีโอก็ให้กดค้างนะจ๊ะ


สัญลักษณ์นี้เป็นเหมือนกับประวัติการรับ การส่งภาพของเรา


       แต่ในกรณีที่ขึ้นตัวเลขแบบนี้ แสดงว่ามีคนส่งภาพมาให้เรา เราก็กดเข้าไปดูได้เลย 
พอกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


ถ้าเราจะดูให้เรากดค้างที่เพื่อนคนนั้นได้เลย


สัญลักษณ์นี้คือสิ่งที่เราส่งให้เพื่อน
สีม่วง คือ วิดีโอที่เราส่งไป
สีแดง คือ รูปภาพที่เราส่งไป
ถ้าทึบแสดงว่าเพื่อนยังไม่ได้ดู แต่ถ้ามันโปร่งแสดงว่าเพื่อนได้ดูเรียบร้อยแล้ว



เป็นกรณีเดียวกันแต่เป็นสี่เหลี่ยม เพราะเป็นเพื่อนส่งมาให้เรา


สัญลักษณ์นี้คงรู้กันอยู่แล้วว่ามีไว้เพื่อค้นหา


สัญลักษณ์นี้เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เมื่อเราดูแล้ว จะสามารถดูได้อีกหลายครั้งจนครบกำหนดที่ตั้งไว้ 
แล้วจะทำลายตัวเอง (อันนี้เราก็ไม่มั่นใจนะว่ากี่ครั้งหรือ1วัน)


ในส่วนนี้นั้นมีทั่วโลกเลยล่ะ เมื่อมีเทศกาลอะไร ก็มักจะมี Live สดๆให้เราได้ดูกัน


ส่วนนี้เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


อันนี้ไม่มีอะไรเลย ไม่ต้องสนใจก็ได้ (จริงๆคือเราไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน)

ต่อไปนี้เราจะไปดูกันว่าเมื่อเราถ่ายแล้ว จะมีลูกเล่นอะไรอีกบ้าง?


เมื่อเรากดถ่ายแล้วจะขึ้นแบบนี้แหละ ไปดูสัญลักษณ์พวกนี้กันต่อเลยยย


สัญลักษณ์นี้ก็กดออกปกติ คือไม่เอารูปนี้หรือไม่อยากส่งอันนี้ก็กดออกแล้วไปถ่ายใหม่ได้เลย


สัญลักษณ์นี้คือ เราสามารถพิมตัวอักษรลงไปในรูปหรือวิดีโอนั้นได้ เมื่อเรากดอันนี้ก็จะขึ้นแบบนี้


อยากจะพิมอะไรลงไปก็พิมลงไปเลย


สัญลักษณ์นี้คือ เราสามารถวาดอะไรลงไปก็ได้ในภาพๆนั้น แบบนี้


เมื่อเรากดจะมีแถบสีอยู่ด้านข้างด้วย อยากใช้สีไหนก็เลือกได้เลยตามใจชอบ


         สัญลักษณ์นี้คือ การตั้งเวลาว่าเราจะให้เพื่อนดูนานแค่ไหน เมื่อกดเข้าไปจะขึ้นแบบนี้


สามารถเลือกได้ระหว่าง 1-10 วินาที


สัญลักษณ์นี้เมื่อเรากดไป รูปภาพหรือวิดีโอที่เราถ่ายจะ Save เก็บไว้ทันที


สัญลักษณ์นี้เมื่อเรากดไป มันจะขึ้นไปอยู่ใน My Story ทันที


สัญลักษณ์นี้เอาไว้ให้เรากดส่งรูปภาพหรือวิดีโอให้เพื่อน เมื่อกดเข้าไปจะเป็นแบบนี้


เราอยากส่งให้ใคร เราก็กดเลือกคนๆนั้นได้เลย

          เป็นไงล่ะ App นี้น่าสนใจมากๆเลยใช่ไหมล่ะ ^^ ลองชวนเพื่อนๆมาเล่นกันดูนะ เพราะเหมือนใครจะไปเที่ยวไหน เราก็จะได้รับรู้ด้วย เหมือนเราแบ่งปันประสบการณ์ให้กันและกัน ต้องลองเล่นกันนะ รับประกันว่าลองแล้วจะติดใจนะ555555 ส่วนใครมีอะไรสงสัยหรือต้องการจะถามอะไร ก็ถามได้เลยนะเราพร้อมตอบเสมอ ^^

ที่มา : SnapChat

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เราทุกคนคงรู้จักคอมพิวเตอร์กันดีอยู่แล้ว แต่คงไม่ค่อยรู้จักหรือเข้าใจเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วันนี้เราจึงนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาฝากทุกคนค่ะ และเราจะมาเริ่มที่คอมพิวเตอร์กันก่อนนะคะ ไปเลย!!!

คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electrinic Device) ที่ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ซึ่งมนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือ การที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง


การทำงานของคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

        ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
        ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น
        ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า " จอมอนิเตอร์ (Monitor)” หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เรียกว่า  “ 4 Special ” ดังนี้
1. หน่วยเก็บ (Storage) หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้าง และเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed)
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure) หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน


                และต่อไปเราจะมารู้จักกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กันต่อนะคะ ซึ่งบางคนอาจจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยรู้ เราจะมาเรียนรู้ด้วยกันนะคะ ไปเลย!!! 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host)” และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)” ระบบเครือข่ายจะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆนั้น อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ


 ระบบเครือข่ายชนิดต่างๆ
ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้หลายวิธี เช่น ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus) , แบบดาว (star) , แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรึยกตามขนาดหรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่น แลน (LAN) , แวน (WAN) , แมน (MAN) นอกจากนี้ระบบเครือข่ายยังสามารถเรียกได้ตามเทคโนโลยีที่ไช้ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP , เครือข่าย IPX , เครือข่าย SNA หรือเรียกตามชนิดของข้อมูลที่มีการส่งผ่าน เช่น เครือข่ายเสียงและวิดีโอ และเรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet) , เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet) , อินทราเน็ต (Intranet) , เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียกตามวิธีการเชื่อมต่อทางกายภาพ เช่น เครือข่ายเส้นใยนำแสง , เครือข่ายสายโทรศัพท์ , เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนกระบบเครือข่ายได้หลากหลายวิธีตามแต่ว่าเราจะพูดถึงเครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่ายตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) , รูปแบบการสื่อสาร (Protocol) และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)

การจำแนกระบบเครือข่ายตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) จะบอกถึงรูปแบบที่ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ

1. แบบบัส (bus)


ในระบบเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุด มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า บัส (BUS)” เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูลการสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับเข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูลอื่นๆที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุกๆโหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุกๆโหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะเป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น

2. แบบดาว (star)


เป็นหลักการส่งและรับข้อมูลเหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาวหรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่ายศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆโหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้

3. แบบวงแหวน (ring)


เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)


เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร

ที่มา คอมพิวเตอร์